ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2021

ความเป็นมาและความสำคัญของประเพณีลอยกระทง

  วันลอยกระทง ถือเป็นอีกหนึ่งประเพณีเก่าแก่ที่สำคัญของคนไทย จะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ซึ่งมักจะตรงกับช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา จึงมักจะเห็นในหลายพื้นที่จัดงานเทศกาลลอยกระทงตามบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดียที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ ตำนานกล่าวไว้ว่าในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยนำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากการทำจากดอกบัวเป็นต้นกล้วยเพราะดอกบัวดังกล่าวหายากและมีน้อยจึงใช้ต้นกล้วยทำแทนแล้วดูไม่สวยจึงใช้ใบตองมาพับแต่งจนสวยในที่สุดจนสืบทอดมาจนปัจจุบัน ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแห

บทสวด อโหสิกรรม ให้กับเจ้ากรรมนายเวร !!

เจ้ากรรมนายเวร คือใครก็ได้ที่เราเคยไปสร้างความไม่พอใจให้แก่เขา ไม่ว่าจะเป็นกาย วาจา หรือใจ หากมีคนผูกใจเจ็บว่าในอนาคตมีโอกาสเมื่อไหร่ขอแก้แค้นผู้ที่เบียดเบียนเรา หรือผูกใจต่อเราว่าขอให้ได้ทำร้ายคืน ผู้ที่มีจิตแค้นผูกใจเจ็บว่าจะล้างแค้นนั้นแหละเรียกเจ้ากรรมนายเวร แต่ทุกวันนี้และคำคำนี้ใช้กันจนพร่ำเพรื่อ แล้วมองกันดูว่าน่ากลัว มองในแง่ที่น่ากลัวลึกลับ หรือบางคนมองเป็นเรื่องเหลวไหล  ถึงแม้กรณีว่าจะมีการ  อโหสิกรรม  ให้ ให้อภัยคือไม่โกรธไม่ผูกใจเจ็บ แต่ทว่าเราต้องได้รับใช้ผลของกรรมที่เราทำไปแล้ว ณ จุดนั้น ได้กรรมแต่ไม่ได้เวร แต่กรณีของบางรายที่ไม่ยอม อโหสิกรรม คือผูกใจเจ็บ เราจึงได้ทั้งเวร ทั้งกรรม บางทีมีโอกาสก็แกล้งกันคืนบ้าง มีอคติต่อกันบ้าง ต่างคนต่างสร้างกรรมต่อกัน พอตายไป บางทีคนหนึ่งไปเกิดเป็นคนอีกรอบ อีกคนยังไม่ได้ไปเกิดเป็นคนแต่ไปอยู่ในภพของโอปาติกะบ้าง บางทีเป็นโอปาติกะที่มีฤทธิ์เช่น เทวดา จิตที่ยังมีความอาฆาตต่อกันนั้น ยังไม่ได้ให้อภัย จึงมีการตามไปแก้แค้น ตามไปเอาคืนอยู่ตลอด จึงวุ่นวาย เจ้ากรรมนายเวรของเราทุกๆคน จึงมีได้ทุกภพ ไม่ว่าจะเป็นพรหม เทวดา นางฟ้า สัมภเวสี อสุรกาย พญานา

การ สะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตา แก้กรรม ได้จริงหรือ ?

  เคราะห์ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์ ซึ่งมีทั้งเคราะห์ดีและเคราะห์ร้าย สิ่งที่ดีเรียกว่า “ศุภเคราะห์” สิ่งไม่ดี เรียกว่า “บาปเคราะห์” ก่อนที่บุคคลจะประสบเคราะห์ไม่ว่าจะทางดีหรือทางร้าย มักจะมีเครื่องปรากฏให้เห็นก่อนเรียกว่า “ลาง” ลางที่จะบอกว่ามีเคราะห์ดี เช่น เห็นพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ หรือเห็นพระเจ้า พระสงฆ์ และที่บอกว่าจะมี เคราะห์ ร้าย เช่น เห็นบึ้ง เห็นงูทำทาน เห็นข้าวนึ่งแดง เป็นต้น เมื่อมีลางบอกเหตุในทางไม่ดีก็ต้องทำการสะเดาะเคราะห์ นั้นเอง ชาวพุทธเราเมื่อมีเรื่องไม่สบายใจก็มักจะไปทำบุญเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ การถวายสังฆทาน เป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา โดยถวายสิ่งของจำเป็นแด่พระสงฆ์อานิสงส์ผลบุญจะส่งให้ชีวิตหมดเคราะห์หมดโศก จะทำสิ่งใดก็ราบรื่นไม่ติดขัดพบแต่ความสำเร็จสมปรารถนา รวมทั้งมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ไม่ขัดสน การถวายน้ำมันตะเกียง เพื่อความรุ่งโรจน์โชติช่วงของชีวิตเช่นเดียวกับความสว่างของแสงตะเกียง ทำให้พ้นจากความมืดมิดทั้งการดำเนินชีวิตรวมทั้งปัญหาและความคิดที่สว่างไสวไม่อับจนหนทาง การทำทานแก่คนยากไร้ เป็นการทำบุญที่มาจากจิตใจอันไม่ยึดต

ขั้นตอนของพิธีอุปสมบทมีอะไรบ้าง ?

  ในพระพุทธศาสนา เรียกการบวชว่า “ การอุปสมบท ” แต่เดิมนั้น การบวชเรียกว่า “บรรพชา” ซึ่งแปลว่า เว้นทั่ว  เว้นจากความชั่วทุกอย่าง ปัจจุบันคำว่าบรรพชาใช้กับการบวชสามเณร ในขณะที่อุปสมบทใช้กับการบวชพระภิกษุ การบวชโดยนัยแล้วคือ การละทิ้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่เดิม สู่ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ใหม่ ตามครรลองแห่งมรรค เพื่อเป็นการง่าย เพื่อเป็นการสะดวก เป็นทางอันปลอดโปร่ง แก่การบรรลุถึงซึ่งวัตถุประสงค์ คือ ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ปราศจากมิลทิน หมดจดจากความเศร้าหมอง และเป็นอิสระจากพันธนาการเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ประเพณีการบวช  ถือเป็นประเพณีที่เคร่งครัด เชื่อว่าการบวชสามารถอบรมให้เป็นคนดีได้ ผู้ชายเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป มักจะบวชเรียน ก่อนเข้าพรรษา ( แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ) ผู้ชายจะเข้าพิธีบวชพร้อม ๆ กัน และประเพณีการบวชจะมีการกวนขนมชนิดหนึ่งคือ ” ยาหนม ” เป็นขนมที่ต้องมีในงานบวช การจัดงานบวชมีขั้นตอนและพิธีการหลายอย่าง ตั้งแต่การเตรียมตัวจนถึงการบวชพระ ซึ่งจะต้องทำให้ถูกต้องตามขั้นตอน โดยวันนี้เราก็มีขั้นตอนในการจัดงานบวชมาฝากกัน หากท่านใดที่กำลังจะบวชหรือกำลังจะจัดงานบวชให้กับบุตรหลานก็สามารถศึกษาได้จากบทความ