ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2022

เคล็ด (ไม่) ลับ การแก้กรรม ฉบับ ธาราญา !!

  วิธีการ  แก้กรรม  มีมากมาย แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคน วิธีที่จะทำให้ กรรมบรรเทาลงได้นั้นมี ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ถ้าเจ้ากรรมนายเวรจากส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายบริเวณที่เจ็บปวดได้รับอโหสิกรรมแล้วจะหายเจ็บปวดทันที  กรรมนี้จะเบาลงและจะมีชีวิตที่ดีขึ้น โดยสังเกตจากตัวเราเองว่า มีสิ่งที่ดีเข้ามามากขึ้นที่ป่วย ก็จะหาย ที่จนก็จะเริ่มมี แสดงว่าเราเริ่มมีบุญแล้ว  หากกรรมยังเยอะ ก็ยังลำบากอยู่ แล้ว “กรรม” คืออะไร ? “กรรม” การกระทำด้วยเจตนา ทั้งในอดีตชาติ หรือในปัจจุบันก็ล้วนเป็นกรรมทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมีผลกระทบต่อปัจจุบันและอนาคต “ใครทำกรรมใดไว้ กรรมนั้นย่อมไปตกอยู่ที่ผู้กระทำ” (การ แก้กรรม สามารถช่วยได้ จากหนักเป็นเบา) ไม่มีใครหลุดพ้นหรือหนีจากกฎแห่งกรรมไปได้ วิบากกรรมของแต่ละคนก็แตกต่างกัน วิธีการ แก้กรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ เช่น การใส่บาตร ถือศีล กินเจ ช่วยผู้ที่เดือดร้อน ถวายสังฆทาน สวดมนต์ กราบบิดามารดา ล้วนเป็นมหากุศล การทำบุญให้อธิษฐานจิตทุกครั้ง เพื่อนำส่งบุญให้ตัวเอง มีชีวิตที่ดีขึ้น เจริญขึ้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเป็นกุศลและเป็นบุญทั้งสิ้น คำกล่าวในการแก้กรรม คือ ให้  “ตั้งนะโม

ทำบุญ ทำทาน อย่างไร ให้ได้อานิสงส์สูงสุด ?

  ทาน หมายถึง การให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่หวังผลตอบแทน  เมื่อเราให้ทานแม้จะไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทนก็ตาม แต่ก็จะมีบุญเกิดขึ้น และบุญนั้นจะช่วยให้เราสมบูรณ์พร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ ถ้าใครปราศจากการให้ทานเกิดมาก็จะยากจน  ทำบุญทำทาน ได้ไม่สะดวกเพราะมัวแต่กังวลเรื่องการทำมาหากิน  “ทาน” จึงเป็นพื้นทานของการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความเจริญก้าวหน้า ทาน เป็นหนึ่งใน บุญกิริยาวัตถุ10  การทำทานจึงเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง แล้ว  บุญกิริยาวัตถุ 10  คือ 1.     ทานมัย   – บุญจากการทำทาน คือ การให้ในทุกรูปแบบ 2.     สีลมัย   – บุญจากการรักษาศีล คือ รักษาศีล 5 เป็นพื้นฐาน 3.     ภาวนามัย   – บุญจากการเจริญสมาธิภาวนา คือ นั่งสมาธิ 4.     อปจายนมัย   – บุญเกิดจากการอ่อนน้อมถ่อมตน คือ ให้เกียรติผู้อื่น 5.     เวยยาวัจจมัย   – บุญจากการช่วยเหลือการงานที่ถูกที่ควร เช่น การเป็นจิตอาสา 6.     ปัตติทานมัย   – บุญจากการอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้อื่น ทั้งผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และผู้เสียชีวิต 7.     ปัตตานุโมทนามัย   – บุญจากการอนุโมทนา คือ แสดงความยินดีกับผู้อื่น 8.     ธัมมัสสวนมัย   – บุญจากการฟังธรรมในทุกรูปแบบจากพระสงฆ์ หรื

ประวัติและความสําคัญ ของวันวิสาขบูชา !!

  ความหมายของ “ วันวิสาขบูชา ” หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน ประสูติ  เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อ วันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี  เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า  “สิทธัตถะ”  ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด) สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า ตรัสรู้  เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนร

ปิดทองพระ ตำแหน่งไหนดี ? ธาราญามีคำตอบ !!

  การปิดทององค์พระนั้น ชาวพุทธมีความเชื่อว่าเป็นการสร้างบุญมหากุศลอันยิ่งใหญ่ โดยมีคติความเชื่อว่าผู้ที่ได้มีโอกาสปิดทองพระไม่ว่าจะเกิดภพชาติใดจะมีผิวพรรณผ่องใสงดงาม มีสง่าราศรี เป็นที่ถูกเนื้อต้องใจของผู้ที่พบเห็น ส่วนอานิสงค์ผลบุญที่ให้เห็นในชาตินี้ ในการทำบุญ ทำความดีไว้จะเป็นผลดีกับตัวเองและได้อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว นอกจากการทำบุญตักบาตรแล้ว ก็ยังมีการไหว้พระปิดทอง โดยชาวพุทธมีความเชื่อมาช้านานว่า การไหว้พระปิดทองนั้น เป็นคติธรรมมุ่งหมายถึงการได้บูรณะต่อองค์พระพุทธปฏิมา เพื่อผลแห่งอานิสงส์ที่จะให้ผลโดยทันที และยังมีความเชื่ออีกว่าผู้ที่ได้มีโอกาส ปิดทองพระ ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใดจะมีผิวพรรณผ่องใสงดงาม บทความนี้ ธาราญา จะบอก ปิดทองพระ  ตำแหน่งไหนดี ? เผื่อบางคนอาจจะยังไม่ทราบหรือยังสงสัยเวลาไปเข้าวัดทำบุญ จะต้องปิดทององค์พระ แต่ยังคิดไม่ออกว่าจะปิดทองตำแหน่งดี ซึ่งแต่ละจุดก็จะมีความหมายและให้อานิสงส์ผล บุญ ที่แตกต่างกันออกไป ปิดทองที่พระเศียร (ศีรษะ)           มีความเชื่อว่าการปิดทองบริเวณศรีษะของพระพุทธรูปจะทำให้ความจำดี มีสติปัญญาเป็นเลิศ ฉลาดหลักแหลม หัวไว เรียนเก่ง สา