ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2022

10 ของสังฆทานที่ถวายแล้วพระได้ใช้ประโยชน์สูงสุด

  การถวาย สังฆทาน หมายถึงการ ถวายสิ่งของจตุปัจจัยวัตถุแก่หมู่พระสงฆ์ โดยไม่เลือกระบุถวายเฉพาะเจาะจงแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง กล่าวคือ ถวายเข้าเป็นสิทธิกองกลางแก่คณะสงฆ์ภายในวัด เพื่อคณะสงฆ์จะจัดแบ่งปันแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ต้องการ หรือเพียงแค่ถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง (โดย “ไม่เลือก” ว่าจำเพาะถวายรูปนั้นรูปนี้ เช่น เป็นพระผู้ทรงพรรษา พระรูปที่เรารู้จัก หรือพระรูปที่ตนศรัทธา) ที่เป็นตัวแทนแห่งสงฆ์ หรือถวายโดยมีเจตนาเพื่อบำรุงพระสงฆ์สามเณรโดยไม่เลือกผู้รับ ก็นับเป็นสังฆทานเช่นกัน 10 อันดับของสังฆทาน ที่พระจะได้ประโยชน์มากที่สุด 1.   เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เนื่องจากพระสมัยนี้ ต้องเรียนพระปริยัติธรรม และจดกำหนดนัดหมายต่างๆ ช่วยจำ บางรูปท่านเป็นเหรัญญิกดูแลค่าใช้จ่าย ยิ่งต้องใช้มาก แต่ไม่ค่อยมีใครถวายเครื่องเขียนเหล่านี้ พระท่านจึงต้องไปเดินหาซื้อเองเสมอ หากเราถวายไป พระท่านจะได้ใช้อย่างแน่นอน 2.   ใบมีดโกน ควรเลือกยี่ห้อที่มีคุณภาพ โกนได้เกลี้ยงเกลา เพื่อให้พระสงฆ์ใช้ในการปลงผมได้อย่างสะดวกและปลอดภัย 3.    ผ้าไตรจีวร  แม้จะเป็นสิ่งที่พบเห็นในชุดสังฆทาน แต่ส่วนใหญ่มักเป็นของที่ไ

ความหมายและความสำคัญของ “วันอาสาฬหบูชา”

  วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และวันหยุดราชการในประเทศไทย คำว่า อาสาฬหบูชา ย่อมาจาก “อาสาฬหปูรณมีบูชา” แปลว่า “การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ” อันเป็นเดือนที่สี่ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนกรกฎาคม หรือเดือนสิงหาคม แต่ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็ให้เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 8 หลังแทน วันอาสาฬหบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือวันอาสาฬหปุรณมีดิถี หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี อันเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ ความหมายของวันอาสาฬหบูชา อาสาฬหบูชา สามมารถอ่านได้ทั้ง ๒ แบบ คือ “อา-สาน-หะ-บู-ชา” หรือ “อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา” ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า “การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชา เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘” หรือเรียกให้เต็มได้ว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา ความสำคัญของวั

ความหมายของ “ดอกบัว” ในพระพุทธศาสนา !!

  ดอกบัว  กับพุทธศาสนานั้นเป็นสิ่งที่คู่กันมาโดยตลอด เมื่อเราไปวัด หรือ สถานที่ปฎิบัติธรรม เรามักจะ สังเกตเห็นว่าสิ่งที่พุทธศาสนิกชนนำมากราบและถวายบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะต้องมีดอกบัวเป็นดอกไม้พุทธบูชาประเภทหนึ่งอยู่เสมอ และเราก็มักจะได้ยินถึงการเปรียบเทียบดอกบัวกับมนุษย์ที่บอกว่า บัวก้นบึ้ง  เปรียบเทียบกับ โมฆะบุรุษ มนุษย์ที่เกิดมาสูญเปล่า ไม่รู้ผิดหรือชอบ ไม่เกรงกลัวในบาปกรรม บัวใต้น้ำ  เปรียบเทียบกับ บุคคลที่ยังรู้ผิดชอบชั่วดีบ้าง มีศีลบ้าง บุคคลกลุ่มนี้หากได้กัลยาณมิตรที่ดี ก็จะมีโอกาส มีความเจริญรุ่งเรือง กลายเป็นบัวปริ่มน้ำได้ บัวปริ่มน้ำ  เปรียบเทียบกับ บุคคลที่มีศีล รู้จักการรักษาศีล 5 ให้คงไว้ รู้จักมีเมตตา เผื่อแผ่ ถือศีล 5 ได้ครบบ้าง ไม่ครบบ้าง แต่พยายามหมั่นฝึกฝน และมีโอกาสเป็นผู้เจริญแล้วได้ไม่ยาก บัวพ้นน้ำ  เปรียบเทียบกับ ผู้รักษาศีล 5 ได้ครบถ้วน และไม่ละเลยการเพียรทำความดี เป็นผู้เจริญแล้ว ดอกบัวที่เราใช้กราบไหว้บูชา จึงมีความหมายและนัยมากกว่าการเป็นเพียงดอกไม้ที่ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ความสวยงามไว้เพียงเท่านั้น หากกล่าวไปถึงในอดีต ดอกไม้หลากหลายชนิดบนโลกใบ

ความหมายและความสำคัญของ “วันพระ”

วันพระ  หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชน เพื่อปฏิบัติ กิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า “วันธรรมสวนะ” อัน ได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทิน จันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ) วันแรม 8 ค่ำ วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)   ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น ความเป็นมาของ “วันพระ” ครั้งหนึ่งเมื่อสมัยพุทธกาลที่ผ่านมาได้มีเหล่านักบวชนอกศาสนาประชุมแสดงคำสอนตามความเชื่อของตนทุกวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำเป็นปกติ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารพระราชาแห่งแคว้นมคธ ทราบจึงเกิดความคิดว่าคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนาน่าจะได้กระทำเช่นนั้นบ้าง เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาของเหล่าพุทธศาสนิกชน เฉกเช่นท