ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

สังฆทาน คือ อะไรและมีความหมาย รวมถึงมีกี่ประเภท

  สังฆทาน คือ อะไร ถ้าแปลตามคำศัพท์เป็นศัพท์ในพระสูตร เป็นชื่อเรียกการถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์ มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระพุทธเจ้า แม้ยังทรงพระชนม์อยู่ ถ้าแยกความหมายเเล้ว  สังฆะ แปลว่า กลุ่ม หรือหมู่  ส่วน ทาน แปลว่าการให้ รวมความหมายได้ว่า ทานที่ถวายให้แก่กลุ่มพระสงฆ์โดยไม่เจาะจงพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ทำบุญสามารถถวายอะไรก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสมกับการใช้ชีวิตของพระสงฆ์ สังฆทานมีกี่ประเภท การถวายโดยอุทิศให้แก่สงฆ์ โดยอุทิศให้เป็นเผดียงสงฆ์ (ไม่ระบุเฉพาะว่าจะถวายรูปไหน) เช่นการถวายสลากภัต แม้พระจะได้รับของที่ถวายแค่รูปเดียว แต่ถือได้ว่าพระสงฆ์ที่มารับถวายเป็นพระที่ได้รับมอบหมายจากสงฆ์ ก็นับเป็นสังฆทานเช่นกัน ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย (ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ให้ทานในภิกษุสงฆ์ ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โ
โพสต์ล่าสุด

อิทธิบาท 4 คืออะไร หลักธรรมแห่งชีวิตประจำวัน

  หลักธรรมที่สำคัญสำหรับในชีวิตประจำวัน หรือ ผู้ที่มีความมุ่งมั่นปราถนาจะกระทำความเพียรใด ๆ ให้สำเร็จ นั้นคือ อิทธิบาท 4 สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งหลักธรรมนี้ มุ่งไปสู่ความเพียรทำสิ่งใดที่มุ่งมั่นปราถนาให้สำเร็จอย่างมีเหตุมีผล ด้วยปัญญา อิทธิบาท 4 คืออะไร ป็นหลักธรรมที่ประกอบด้วยหลักคุณธรรม 4 ประการ ได้แก่ ฉันทะ  หมายถึง ความรัก พอใจในสิ่งที่มีอยู่หรือสิ่งที่ทำ วิริยะ  หมายถึง ความพากเพียรและความขยันอย่างต่อเนื่อง จิตตะ  หมายถึง ความเอาใจใส่ มุ่งมั่น และรับผิดชอบสิ่งนั้นๆ วิมังสา  หมายถึง ความตระหนักไตร่ตรองถึงเหตุและผลด้วยปัญญา ขอบคุณเพจ  https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2723367   บทความแนะนำ โพชฌงค์ 7 ธรรมะแห่งการตรัสรู้คืออะไรและมีอะไรบ้าง บทความแนะนำ พละ 5 คืออะไร หลักธรรมกำจัดนิวรณ์ แห่งการรู้แจ้ง   อิทธิบาท 4 ใช้อย่างไร เมื่อเราตั้งใจที่จะปฏบัติธรรมในการนั่งสมาธิเพื่อต้องการให้จิตมีความสงบและต้องการเจริญวิปัสนากรรมฐาน เพื่อเข้าสู่ความสงบของจิต ฉันทะ  คือ ความพึ่งพอในใจสิ่งที่จะปฏิบัตินั้นมีจุดมุ่งหมายอันมีคุณธรรม มีความตั้งใจที่จะทำสมาธิให้แน่วแน่เพื่อเข้าถึงค

กิจจกรรมในวันออกพรรษานี้

  วันออกพรรษา  คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  “วันมหาปวารณา” คำว่า “ปวารณา” แปลว่า “อนุญาต” หรือ “ยอมให้”  คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้ม มัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศลกรรมการ  “ตักบาตรเทโว” คำว่า “เทโว” ย่อมาจาก”เทโวโรหน”  แปลว่าการเสด็จจากเทวโลกการตักบาตรเทโว จึงเป็นการระลึกถึงวันที่ พระพุทธองค์เสด็จกลับจากการโปรด พระพุทธมารดาในเทวโลกประเพณีการทำบุญกุศลเนื่องในวันออกพรรษานี้ ทุกวัดในประเทศไทยก็มีพิธีเหมือนกันหมด จะผิดกันก็เพียงแต่สถานที่ที่สมมติว่าเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เท่านั้น กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา มีดังนี้ 1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ            2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟ

ประวัติ “พระพรหม” ที่หลายคนยังไม่เคยรู้ !!

  ตามคัมภีร์ลัทธิตามคัมภีร์ลัทธิศาสนาพราหมณ์เชื่อกันว่ามีพระเป็นเจ้า 3 องค์ ซึ่งทรงมีคุณธรรม บารมี และ ปาฏิหาริย์ต่างๆ กันวซึ่งพระเป็นเจ้าทั้ง 3 องค์นี้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยตรง เรียกรวมกันว่า “ตรีมูรติ” อันได้แก่ พระนารายณ์ พระอิศวร และ พระพรหม  โดยเฉพาะพระพรหมนี้เชื่อกันว่าเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งทั้งปวงให้เกิดขึ้นในโลก พระองค์เป็น “สยัมภู” คือผู้เกิดได้เอง มีน้ำพระทัยเยือกเย็น เป็นผู้มีคุณธรรมสูงสุด เปี่ยมไปด้วยความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งเป็นมโนธรรมจริยา 4 ประการ ซึ่งตรงกับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ได้ยึดถือสั่งสอนพุทธบริษัทข้อหนึ่ง ที่เราเรียกกันว่า พรหมวิหาร 4 นอกจากจะสร้างโลกแล้ว พระพรหมยังเป็นผู้สร้างสวรรค์และมนุษย์อีกด้วย กำเนิดของพระพรหมนั้นค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่สับสนอยู่บ้างเพราะจากตำนานหลาย ๆ เล่ม ก็มีเรื่องเล่า แตกต่างกันออกไป บ้างก็ว่าพระพรหมถือกำเนิดในไข่ทอง บ้างก็ว่าพระพรหมถือกำเนิดในดอกบัวอันผุด ขึ้นจากพระนาภีของพระนารายณ์บรรทมหลับอยู่บนหลังอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร และบ้างก็ว่าพระพรหม กำเนิดมาจากการแบ่งภาคของพระพิษณุ เมื่อคราวที่พระพิษณุจะทรงสร้างโลก แต

ที่มาที่ไป !! ของ “ผ้าอาบน้ำฝน” ฉบับ ธาราญา

  ความเป็นมาของการถวาย ผ้าอาบน้ำฝน โดยปกตินางวิสาขา จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มาเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านของนางเป็นประจำ เมื่อการจัดเตรียมภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยพร้อมแล้ว ก็จะให้สาวใช้ไปกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปยังบ้านของนาง วันหนึ่งสาวใช้ได้มาตามปกติเหมือนทุกวัน แต่วันนั้นมีฝนตกลงมาพระสงฆ์ทั้งหลาย จึงพากันเปลือยกายอาบน้ำฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจเพราะความที่ตนมีปัญญาน้อยคิดว่าเป็น นักบวชชีเปลือย จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางวิสาขาว่า”ข้าแต่แม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นมีแต่ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน้ำ กันอยู่” นางวิสาขาได้ฟังคำบอกเล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน เป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใส มีความใกล้ชิดกับพระภิกษุสงฆ์ จึงทราบเหตุการณ์โดยตลอดว่า พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีผ้าสำหรับใช้สอยเพียง 3 ผืน คือ ผ้าจีวรสำหรับห่ม ผ้าสังฆาฎิสำหรับห่มซ้อน และผ้าสบงสำหรับนุ่ง ดังนั้น เมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้ำจึงไม่มีผ้าสำหรับผลัดอาบน้ำ ก็จำเป็นต้องเปลือยกายอาบน้ำ นางวิสาขา จึงอาศัยเหตุนี้ เมื่อพระบรมศาสดาเสด

สายมูต้องดู !! เปิด 7 สถานที่ บูชาพญานาค เสริมโชคลาภ

  พญานาค  หรือนาค เป็นสัตว์ในตำนานที่มีลักษณะคล้ายงูขนาดใหญ่ มีหงอน ลำตัวเป็นเกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี องค์พญานาค เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ หลายคนมีความเชื่อว่า พญานาคสามารถให้คุณแก่ผู้ที่บูชาได้ และช่วยส่งเสริมชะตาชีวิต หนุนดวงของเรา หากใครบูชา สามารถช่วยสร้างอำนาจ บารมี โชคลาภเงินทอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้บูชาจำเป็นต้องอยู่ในศีลอย่างจริงจัง ย้ำเลยนะคะ ต้องอยู่ในศีลในธรรม แล้วถึงจะสัมฤทธิผล และขอให้ทำบุญทำทานเป็นประจำ เหตุผลเนื่องจากพญานาคมีความเลื่อมใสในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง และจะเป็นไปได้หากเรานั้นได้ลองเองทำความรู้จักด้วยตัวเอง ตำนานพญานาค นาค บางตนมีพลังวิเศษแปลงกายเป็นรูปมนุษย์ได้ บางครั้งมีการสร้างรูปของนาคในลักษณะของมนุษย์ซึ่งมีงู หรือมังกรปรกอยู่เหนือศีรษะในพุทธประวัติระบุว่าเคยมีนาคตนหนึ่งซึ่งแปลงกายอยู่ในรูปมนุษย์ได้มีความพยายามที่จะออกบวช แต่พระโคตมพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่สามารถให้นาคบวชได้ หากนาคต้องการบวชจักต้องเกิดใหม่ในชาติที่เป็นมนุษย์จึงจะบวชได้ในศาสนาพุทธเชื่อว่านาคอาศัยในบาดาล เช่นเดียวกันกับเทวดาบางส่วน และอาศัยในส่วนต่า

กิจกรรมใน “วันเข้าพรรษา” มีอะไรบ้าง ?

  วันเข้าพรรษา  เป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า “จำพรรษา” นั่นเอง โดย วันเข้าพรรษา 2565ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ประวัติวันเข้าพรรษา            “ เข้าพรรษา”  แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน โดยแบ่งเป็น            –  ปุริมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาแรก  เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11            –  ปัจฉิมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาหลัง   เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค