ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2021

อานิสงส์ของการถวายสังฆทานยา ฉบับ ธาราญา !!

  สังฆทานยา  คือ การจัดเครื่องสังฆทาน ด้วยยารักษาโรค เพื่อนำไปถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน บำบัด รวมถึงการรักษาอาการอาพาธ เบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งถือเป็นการถวายจตุปัจจัยที่สำคัญ 1 ใน 4 โดยตรง คือ ยารักษาโรค และหากต้องการให้เกิดบุญ และให้ได้รับอานิสงส์แห่งบุญนั้น ก็ควรต้องเกิดจากจิตอันเป็นกุศล และใช้ปัจจัยที่ได้มาจากความสุจริต มีความตั้งใจและความปรารถนาดี ที่จะทะนุบำรุงศาสนา โดยผ่านการดูแลพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อที่จะเผยแผ่และสืบทอดคำสอนขององค์พระสัมมาพุทธเจ้าสืบต่อไป นอกจากนี้ เราจำเป็นต้อง ใส่ใจด้วยการคำนึงถึงผู้ที่รับยานั้นไปใช้ด้วย โดยจำเป็นต้องรู้ว่ายาชนิดใดบ้างที่เหมาะสมและมีประโยชน์ แก่พระสงฆ์ เพราะหากเลือกเอาแต่ตามสะดวกของผู้ให้ การทำบุญนี้อาจจะไม่เกิดบุญ และอาจจะสร้างกรรมโดยไม่รู้ตัว ในปัจจุบันสังฆทานได้รับความนิยมกันมาก แต่ก็มีบางประเด็นที่ยังเป็นข้อกังขา และมีข้อคิดบางอย่าง เพื่อให้สังฆทานยาได้ประโยชน์ ดังนั้น สำหรับผู้ขายและผู้ซื้อนั้น ควรใส่ใจในปัญหาเหล่านี้ คือ สังฆทาน ทำไมขายในร่นสังฆทานได้ ก็เพราะยาในสังฆทานส่วนใหญ

How to !! กล่าวคําอธิษฐานถวายผ้าไตรจีวร ?

  ผ้าไตรจีวร นั้น  เป็นหนึ่งในจตุปัจจัย ที่เป็นเครื่องนุ่งห่ม สำหรับพระภิกษุสงฆ์ สามเณร การนำ  ผ้าไตร  มาถวายพระในทางพระพุทธศาสนานั้น มองว่าเป็นการช่วยให้พระสงฆ์ใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบาย และคลายความอันตรายต่างๆได้ ดังนั้นผู้ให้จึงได้รับบุญกุศลอย่างเต็มที่ เกิดในภพหน้าจะมีหน้าตารูปร่างสวยงาม และมีผิวพรรณผุดผ่องแจ่มใส เป็นผู้อิ่มเอมใจ อันเกิดจากการอิ่มบุญ ขจัดพ้นจากความยากลำบาก และความยากจนแสนเข็ญ จุดประสงค์ของการ ถวายผ้าไตรจีวร เพื่อให้พระภิกษุหมดภาระในการแสวงหาผ้านุ่งห่ม ไม่ต้องกังวลใจ มีเวลาปฏิบัติธรรมอย่างเพียงพอ และเป็นการช่วยให้พระภิกษุมีผ้านุงห่ม ป้องกันเหลือบยุง บำบัดความหนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันไม่ให้ป่วยไข้เพราะร้อนและหนาวเกินไป และในสมัยพุทธกาลพระภิกษุจะใช้รักษาสุขภาพอนามัย คือใช้ชายจีวรกรองน้ำดื่มเมื่อถึงคราวจำเป็น ไตรจีวร   หมายถึง ผ้า 3 ผืน นับเข้าในบริขาร 8 อย่างของพระภิกษุสงฆ์ ไตรครองประกอบด้วย ผ้า 7 ชิ้น จีวร คือ ผ้าห่มของพระภิกษุ สามเณร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอุตราสงค์ สบง หมายถึง ผ้านุ่ง ของพระภิกษุ สามเณร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อันตรวาสก ในพระวินัย กำหนดการนุ่งไว้คือ ด้

อานิสงส์ของการ ถวายสังฆทาน "ชุดเครื่องเขียน" ฉบับ ธาราญา !!

  การทำบุญ “ ถวายสังฆทาน ” ช่วยเสริมดวง เพิ่มความสิริมงคลแก่ผู้ถวาย โดยการถวายของใช้ที่เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ และยังสามารถทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ จึงได้นำ การทำบุญถวายสังฆทานให้ถูกวิธี เพื่อเสริมความมงคล มาให้ทุกคนได้ถวายอย่างถูกวิธีและครบถ้วน สังฆทาน คือ การถวายสิ่งของแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการถวายกลาง ๆ ไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เมื่อถวายให้แล้วก็ถือว่าพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปมีสิทธิ์ใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นตามสะดวก อาจจะมีเพียงตัวแทนสงฆ์เพียงรูปเดียวมารับประเคน ก็ถือว่าเป็นสังฆทานเหมือนกัน การถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์ มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระพุทธเจ้า แม้ยังทรงพระชนม์อยู่ การถวายสังฆทานนั้น เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือการนำถังใส่จตุปัจจัยสีเหลืองไปถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสังฆทานอาจหมายถึงการถวายปัจจัยวัตถุใด ๆ ก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวม เช่น การถวายกุฏิวิหาร หนังสือ ปากกา จาน หรือแม้กระทั่งไ

คำว่า อนุโมทนา และ สาธุ ต่างกันอย่างไร ?

  หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่า คำว่า  อนุโมทนา  กับคำว่า สาธุ นั้นแตกต่างกันอย่างไง วันนี้ทางธาราญาจะมาอธิบายความหมายของคำทั้งสอง เพื่อให้ทุกคนได้ทราบถึงความหมาย และการใช้คำทั้งสองนี้ อนุโมทนา อนุโมทนา หมายถึง การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ การอนุโมทนานั้นอาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่น เมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้ เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใคร ทำบุญ  แล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วก็ยกมือขึ้นสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วยเรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า “อนุโมทนากถา” เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า “อนุโมทนาบัตร หรือใบอนุโมทนา” เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า “อนุโมทนามัยบุญ” และการที่ภิกษุกล่าว สัมโมทนียกถา อันแปลว่า ถ้อย คำอันเป็นที่บันเทิงใจ ใช้เรียกการที่ภิกษุพูดแสดงความขอบคุณหรือกล่าวถึงประโยชน์และอานิสงส์ของ ความดี ของบุญกุศล ที่ทายกทายิกาได้ทำ เช่น ถวายอาหาร สร้างกุฏิ สร้างหอระฆัง เป็นต้น